ประวัติกรุงเทพมหานคร

ประวัติกรุงเทพมหานคร

 

 

 

 

ตราประจำจังหวัดกรุงเทพมหานคร
เป็นรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ พระหัตถ์ทรงสายฟ้า

ความหมาย คือ พระอินทร์เป็นเทพที่มีหน้าที่ปกครองดูแลเทวดาทั้งหลายซึ่งตรงกับการทำหน้าที่ของผู้บริหาร
กรุงเทพมหานครที่ปกครองดูแลประชาชนให้มีความสุข
ผู้ทรงออกตรา คือ สมเด็จกรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
ต้นไม้ประจำกรุงเทพมหานค คือ ต้นไทรย้อยใบแหลม (Ficus benjamina)
คำขวัญของกรุงเทพมหานคร :ช่วยชุมชนแออัด ขจัดมลพิษแก่ปัญหารถติด ทุกชีวิตรื่นรมย์

          กรุงเทพมหานคร
แปลว่า เมืองแห่งเทพ โดยมาจากชื่อเต็มว่า "กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยามหาดิลก
ภพนพรัตน์ราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์ มหาสถานอมรพิมาน อวตารสถิต สักกะทัตติยะ วิษณุกรรมประสิทธ
ิ์"
ซึ่งนับว่ากรุงเทพมหานคร เป็นชื่อสถานที่ที่มีความยาวมากที่สุดในโลก เมื่อถอดเป็นอักษรโรมัน คือ Krung Thep Maha Nakhon
Amon Rattanakosin
Mahinthara Ayutthaya Mahadilok Phop Noppharat Ratchathani Burirom Udom Ratchaniwet Mahasathan
Amon Phiman Awatan Sathit Sakkathattiya Witsanu Kamprasit (167 ตัวอักษร) ซึ่งยาวกว่า
ชื่อภูเขา Taumatawhakatangihangakoauauotamateaturipukakapikimaungahoronukupokaiwhenuakitanatahu
(85 ตัวอักษร) ในนิวซีแลนด์ และ ชื่อทะเลสาบ Chargoggagoggmanchauggagoggchaubunagungamaugg ในสหรัฐอเมริกา

ในสมัยรัชกาลที่ 1 ทรงพระราชทามนาม บวรรัตนโกสินทร์ จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงเปลี่ยนเป็น อมรรัตนโกสินทร์

กรุงเทพมหานครชื่อทางการ ถอดเป็นอักษรละตินคือ Krung Thep Maha Nakhon แต่ผู้พูดภาษาอังกฤษนิยมเรียกว่า
Bangkok,ตามชื่อเดิมของกรุงเทพฯ คือ บางกอก


เปลี่ยนชื่อเมื่อเปลี่ยนราชธานี

             กรุงเทพมหานครเดิมชื่อ "เมืองบางกอก" ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงปราบดาภิเษกเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเมืองบางกอกขึ้นเป็นเมืองหลวงใหม่ แทนกรุงธนบุรี โดยสืบทอดศิลปวัฒนธรรมจากกรุงศรีอยุธยา ทรงทำพิธียกเสาหลักเมืองเมื่อวันอาทิตย์ เดือน 6 ขึ้น 10 ค่ำ ฤกษ์ย่ำรุ่งแล้ว 54 นาที ปีขาล จ.ศ. 1144 จัตวาศก หรือตรงกับวันที่ 21เมษายน พ.ศ. 2325 แล้วทรงเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติ เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2325
ครั้นวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ.2325 ในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงเแปลงคำสร้อยจาก บวรรัตนโกสินทร์ เป็น อมร
รัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2326 ได้โปรดให้ลงมือสร้างพระนครและพระบรมมหาราชวัง รวมทั้งพระราชวังบวรสถานมงคล ขุดคลองรอบกรุงและสร้างป้อมขึ้น ซึ่งสร้างแล้วเสร็จใน พ.ศ.2328 แล้วพระราชทานนามพระนครขึ้นใหม่ให้ต้องกับนามพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรีว่า "กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทราอยุธยามหาดิลก ภพนพรัตน์ราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์ มหาสถานอมรพิมานอวตารสถิตสักกะทัตติยะวิษณุกรรมประสิทธิ์" ซึ่งมีความหมายว่า " พระนครอันกว้างใหญ่ดุจเทพนคร อันเป็นที่สถิตของพระแก้วมรกต เป็นนครที่ไม่มีใครรบชนะได้ มีความงามอันมั่นคงและเจริญยิ่ง เป็นเมืองหลวงที่บริบูรณ์ด้วยแก้วเก้าประการ น่ารื่นรมย์ยิ่ง
มีพระราชนิเวศใหญ่โตมากมายเป็นวิมานเทพที่ประทับของพระราชาผู้อวตารลงมา ซึ่งท้าวสักกเทวราชพระราชทานให้พระวิษณุกรรมลงมาเนรมิตไว้"
ต่อมาเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2514 รัฐบาลได้รวม จังหวัดพระนคร และ จังหวัดธนบุรีเป็น นครหลวงกรุงเทพธนบุรี และภายหลังการปรับปรุงการปกครองใหม่เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2515 จึงได้เปลี่ยนเป็นชื่อเป็นกรุงเทพมหานครแต่นิยมเรียกกันว่ากรุงเทพฯ

>>>>>>>>

ความหมายของการท่องเที่ยว
สถานท่องเที่ยวแบบมนุษย์สร้างขึ้น
ิ-สวนสัตว์ดุสิต(เขาดินวนา)
-ซาฟารีเวิล์ด
-สยามโอเชี่ยนเวิล์ด
-สวนสยาม
สถานที่ท่องเที่ยวแบบวัตถุ
- วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
( วัดพระแก้ว )

- ศาลหลักเมือง
- สะพานพระราม 8
- เยาวราช
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
(เรือราชพิธี)
แนะนำสถานที่เที่ยวตามเขต
แหล่งอาหารอร่อย
ของที่ระลึกจากจังหวัด
แหล่งช็อปปิ้ง
รู้ไว้ก่อนเที่ยวกรุงเทพ
แผนที่จังหวัดกรุงเทพ
 

Copyright© 2006-2007 by YuMiNuy. All right reserved Usa Webmaster