สะพานพระราม 8

 

สะพาน พระราม 8

 

สถานที่ตั้ง

 

ประวัติความเป็นมา  

      เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระองค์มีพระราชดำริให้กรุงเทพมหานครก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มอีก 1 แห่ง เพื่อบรรเทาการจราจรบนสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้ารองรับการเดินทางเชื่อมต่อระหว่างฝั่งพระนครกับฝั่งธนบุรี และเป็นจุดเชื่อมต่อโครงการพระราชดำริตามแนวจตุรทิศ
สะพานพระราม 8 จะช่วยเชื่อมการเดินทางระหว่างฝั่งพระนครกับฝั่งธนบุรีให้สะดวกสบายขึ้น ซึ่งจะช่วยระบายรถบนสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าได้ถึง 30% และบนสะพานกรุงธน อีก 20% โดยเริ่มเปิดให้ใช้ตั้งแต่วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 เวลา 7:00 น.

      สะพานพระราม 8 เป็นสะพานข้าม แม่น้ำเจ้าพระยาแห่งที่ 13 มีแนวสายทางเชื่อมต่อกับทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนีข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณโรงงานสุราบางยี่ขันบรรจบกับปลายถนนวิสุทธิกษัตริย์ใกล้กับธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริเมื่อวันที่ 15 ก.ค.2538ให้กรุงเทพมหานคร ก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มอีก 1 แห่ง เพื่อบรรเทาการจราจรบนสะพานพระปิ่นเกล้ารองรับการเดินทางเชื่อมต่อระหว่างฝั่ง พระนครกับฝั่งธนฯและเป็นจุดเชื่อมต่อโครงการพระราชดำริตามแนวจตุรทิศ สะพานพระราม 8 มีความยาวรวม 475 เมตร สูงเท่าสะพานพระปิ่นเกล้าลาดชันไม่เกิน 3% เป็นสะพานหลักช่วงข้ามแม่น้ำ 300 เมตร สะพานยึดช่วงบนบก 100 เมตรและสะพานช่วงโครงสร้างยึดเสา 75 เมตร มีรูปแบบโดดเด่นสวยงามเพราะได้ออกแบบเป็นสะพานขึงแบบอสมมาตรซึ่งหมายความว่ามีเสาสะพานหลักเสาเดียวบนฝั่งธนฯ

และมีเสารับน้ำหนักต้นบนฝั่งพระนคร จึงไม่มีเสารับน้ำหนักตั้งอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้ไม่มีปัญหาต่อการสัญจรทางน้ำ ช่วยป้องกันน้ำท่วมและระบบนิเวศนวิทยาในน้ำรวมทั้งไม่กระทบต่อการจัดตั้งขบวนเรือพระราชพิธี

การรับน้ำหนักของสะพาน ได้ติดตั้งสายเคเบิลระนาบคู่ 28 คู่ ขึงยึดพื้นช่วงข้ามแม่น้ำ และใช้สายเคเบิลระนาบเดี่ยว 28 เส้น ขึงยึดรั้งกับโครงสร้างยึดเสาสะพานบนฝั่งธนฯเคเบิลแต่ละเส้นประกอบด้วยสลิงตั้งแต่ 11-65 เส้น เมื่อเกิดปัญหากับเคเบิล สามารถขึงหรือหย่อน ได้ง่ายไม่จำเป็นต้องปิดการจราจรเหมือนสะพานพระราม 9 เนื่องจากเคเบิลแต่ละเส้นใช้สลิง ภายในซึ่งเป็นขดลวดใหญ่ทำให้ดูแลบำรุงรักษาและซ่อมแซมยากกว่า อีกทั้งสายเคเบิลของสะพานพระราม 8 ยังมีสีเหลืองทอง สีประจำพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อสะท้อนแสงจะส่องประกายสวยงาม โดยเฉพาะยามค่ำคืน

ด้านมาตรฐานความปลอดภัยก็ไม่เป็นรองเพราะบริษัทผู้รับเหมาการันตีว่าได้มีการ ทดสอบแรงดึงในลวดสลิง 1 ล้านครั้ง โดยใช้แรงดึงปกติ 10 ตันไม่มีปัญหา และต้องใช้แรงดึงถึง 27 ตัน ลวดสลิงถึงขาดแต่ก็แค่ 1% เท่านั้นนอกจากนี้ได้มีการทดสอบแรงลมแรงสั่นสะเทือน ทิศทางลมรวมทั้งติดตั้งเครื่องวัดไว้ตลอด 24 ชม.เพื่อดูความผิดปกติที่จะเกิดขึ้น ที่น่าภาคภูมิใจอีกอย่างคือ สะพานพระราม 8 เป็นสะพานขึงแบบอสมมาตรที่ติดอันดับ 5 ของโลก รองจากประเทศเยอรมนี ซึ่งติดอันดับถึง 3 สะพาน และเนปาล โดยนับจากความยาวช่วงของสะพานส่วนสะพานพระราม 9 ซึ่งเป็นสะพานขึงตัวแรกแต่เป็นแบบสมมาตร เพราะมี 2 เสาถือว่าอยู่ในอันดับที่ 18 ของโลก โดยนับความยาวช่วงของสะพานได้ 450 เมตร

      ความโดดเด่น สวยงาม ที่เกิดขึ้น ผสมผสานไปด้วยศิลปะแบบไทย ๆจากแนวคิดใน การสร้างเพื่อเป็นพระบรมราชานุสรณ์ เฉลิมพระเกียรติในหลวงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อานันทมหิดลรัชกาลที่8 กทม. จึงได้อัญเชิญ "พระราชลัญจกร" ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ประจำ พระองค์มาเป็นต้นแบบในการออกแบบทาง สถาปัตยกรรม ส่วนประกอบต่าง ๆ ของสะพานเน้นความโปร่งบาง เรียบง่าย และสวยงาม วัสดุที่ใช้ในโครงสร้างของสะพานเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม เช่นในส่วนของสะพาน เสาสูงรูปตัว Y คว่ำ เป็นเสาคอนกรีตเสริมเหล็ก ทำหน้าที่ หิ้วส่วนโครงสร้างสำคัญอื่น ๆ ของสะพาน ซึ่งมองเห็นได้ในระยะไกล ๆได้ออกแบบโดย ใช้เค้าโครงมโนภาพ ของเรือนแก้ว ราวกันตก ซึ่งทำจากโลหะ ออกแบบเป็นลวดลายที่วิจิตรและอ่อนช้อย จำลองมาจากดอกบัวและกลีบบัว เสาโครงสร้างใต้แผ่นพื้นตกแต่งด้วยลวดลาย ที่จำลองจากดอกบัวใช้วัสดุที่มีน้ำหนักเบามีคุณสมบัติช่วยสะท้อนแสงลงสู่ผิวจราจรใต้ทางยกระดับ ช่วยเพิ่มความสว่างบริเวณใต้ทางยกระดับและประหยัดไฟฟ้าในเวลากลางคืน

      สิ่งพิเศษสุดของสะพานพระราม 8 ที่สะพานอื่นในกรุงเทพฯยังไม่มีก็คือที่ปลายยอดเสาสูงของตัวสะพานจะมีจุดชมวิว ซึ่งมีโครงสร้างโลหะกรุกระจกลักษณะคล้ายดอกบัว สูงจากพื้นดินถึง 165 เมตร หรือสูงเท่าตึก 60 ชั้นพื้นที่35 ตารางเมตร จุคนได้ครั้งละเกือบ 50 คนซึ่งจะเปิดให้บริการกับประชาชนทั่วไปด้วย แต่การก่อสร้างส่วนนี้จะแล้วเสร็จภายหลัง พร้อม ๆ กับลิฟต์ของคนพิการซึ่งอยู่หัวมุม 2 ฝั่งแม่น้ำ ประมาณเดือน ก.ย.เนื่องจากโครงสร้างเสาสูงเป็นแบบตัว Y คว่ำการขึ้นลงจุดชมวิวจึงต้องติดตั้งลิฟต์ทั้งในแนวเฉียงและแนวดิ่งโดยเป็นแนวเฉียงจากพื้นดิน 80 เมตรก่อน จากนั้นจึงเป็นแนวดิ่งอีก 155 เมตรแต่บรรทุกได้เที่ยวละประมาณ 5 คน ใช้เวลาขึ้น-ลง 2-3 นาที นอกจากนี้ยังมีลิฟต์ธรรมดาอยู่คนละด้าน เพื่อใช้สำหรับเจ้าหน้าที่ในการดูแลและตรวจตราสะพาน

      ภาระหน้าที่อันสำคัญยิ่งของสะพานพระราม 8จะช่วยเชื่อมการเดินทางระหว่างฝั่งพระนครกับฝั่งธนบุรีให้สะดวกสบายขึ้นซึ่งจะช่วยระบายรถบนสะพานปิ่นเกล้าได้ถึง 30% และบนสะพานกรุงธนฯ อีก20%แต่ก็มีผลกระทบกับคนกลุ่มหนึ่งซึ่งเป็นชุมชนรายรอบการก่อสร้างต้องสละถิ่นฐานที่เคยอยู่เพื่อส่วนรวม แต่ใช่ว่าสะพานเสร็จแล้วชุมชนจะเลือนหายไปเหลือแค่ความทรงจำ กทม. ยังตระหนักในเรื่องนี้แม้ไม่อาจทำให้ฟื้นกลับให้เหมือนเดิมแต่อย่างน้อยพื้นที่ที่เคยเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยจะถูกจับมาจำลองไว้โดยจะเข้าไปปรับปรุงพื้นที่ 50 ไร่ บริเวณสะพานพระราม 8เพื่อก่อสร้างสวนสาธารณะขนาดใหญ่ ซึ่งรวมถึงพิพิธภัณฑ์ของรัชกาลที่ 8 พระราชรณียกิจของกษัตริย์ไทยสมัยรัตนโกสินทร์และพิพิธภัณฑ์ที่แสดงถึงวิถีชีวิตดั้งเดิมของประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับ ผลกระทบจากโครงการอาทิชุมชนบ้านปูน โรงงานสุราบางยี่ขันซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอกแบบรายละเอียดโดยจะทยอย เสร็จในภายหลังอีกไม่นานเกินรอ สถาปัตยกรรมที่มีความงดงาม จะพาคุณข้ามเจ้าพระยา


ถนนคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนี ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณโรงงานสุราบางยี่ขัน เขตบางพลัด บรรจบกับปลายถนนวิสุทธิกษัตริย์ ใกล้กับธนาคารแห่งประเทศไทย เขตพระนคร