ศาลหลักเมือง

 

ศาลหลักเมือง

 

สถานที่ตั้ง

 

ประวัติความเป็นมา  

     โบราณถือว่าพิธีสร้างพระนครหรือสร้างบ้าน สร้างเมือง ต้องฝังอาถรรพ์ ๔ ประตูเมือง ต้องฝังเสาหลักมือง การฝังเสาหลักเมืองและเสามหาปราสาทต้องเอาคนที่มีชีวิตทั้งเป็น ลงฝังในหลุม เพื่อให้เป็นผู้เฝ้าทวารมหาปราสาทบ้านเมือง ป้องกันอริราชศัตรูมิให้มีโรคภัย ไข้เจ็บเกิดแก่เจ้าฟ้ามหากษัตริย์ผู้ครองนครบ้านเมือง

ในปี 2325 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงปราบดาภิเษกขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์
แห่งราชวงศ์จักรี ทรงย้ายราชธานีจากกรุงธนบุรีไปยังฝั่งพระนครและทรงโปรดเกล้าฯ ให้กระทำพิธีนาครสถานเพื่อยกเสาหลักเมืองกรุงเทพฯ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2325 เวลา 6.45 น.
เสาหลักเมือง ทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์ ด้านนอกประดับด้วยไม้แก่น กำหนดให้ตัวเสาสูงพ้นดิน 108 นิ้ว ฝังในดิน 79 นิ้ว มีหัวเม็ดเป็นยอดสวมไว้ด้านบน ยอดหลักลงรักปิดทอง ภายในบรรจุดวงพระชันษาพระมหานคร

เมื่อถึงสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงมีพระราชดำริว่าหลักเมืองทรุดโทรมจึงโปรดเกล้าฯ ให้ทำขึ้นใหม่ เนื่องจากทรงเชี่ยวชาญด้านโหราศาสตร์จึงทรงแก้ไขดวงเมือง โดยทรงประกอบพิธีจารึกดวงพระชันษาพระนครบนทองคำหนัก 1 บาท ในอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามและให้ก่อศิลาขึ้นใหม่ โดยสร้างเป็นยอดปรางค์ตามอย่างศาลาที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาจากนั้นทรงบรรจุดวงพระชันษา
พระนครไว้ที่หลักเมืองแล้วจัดให้มีการสมโภชฉลองด้วย

ในหลักเมืองรอบๆจะมีบรรดาเทพารักษ์ประจำเมืองที่ประดิษฐานอยู่ภายในนั้นแต่เดิมมีเพียง 3 องค์คือ พระเสื้อเมือง พระทรงเมืองและพระหลักเมือง ต่อมารัชกาลที่ 5 ทรงมีพระราชดำริถึงการที่ประเทศไทยสามารถผ่านวิกฤติการณ์มาได้ จึงทรงประดิษฐานพระสยามเทวาธิราชเพิ่มขึ้นอีกองค์หนึ่ง ในศาลาเจ้าพ่อหลักเมืองทุกวันนี้ เทพารักษ์เหล่านี้ 4 องค์เป็นเทพารักษ์หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ และปิดทองหมด ส่วนอีกองค์หนึ่งแกะสลักรูปเทพารักษ์ด้วยไม้แล้วปิดทอง ทั้ง 5 องค์นี้เป็นฝีมือช่างสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น คือ

1. เทพารักษ์ หรือ เจ้าพ่อหอ กลอง
2. เทพารักษ์พระเสื้อเมือง คุ้มครองป้องกันทางบก ทางน้ำ คุมกำลังไพร่พลแสนยากรครอบคลุมเมืองให้ร่มเย็นเป็นสุข
3 . เทพารักษ์พระทรงเมือง มีหน้าที่ป้องกันไพร่ฟ้าประชาชนทั่วประเทศ มีปู่เจ้าเขาเขียว ปู่เจ้าสมิงพราย เป็นบริวาร
4 . เทพารักษ์พระกาฬ มีหน้าที่ป้องกันมิให้ผู้คนทำความชั่ว ป้องกันความเจ็บไข้ มีธุระสอดส่อง บุคคลอันธพาลทั้งหลายในยามค่ำคืน ด้วยการขี่นกแสกออกตรวจตราบุคคลใดถึงฆาตก็นำตัวไปให้พระยมชำระ ถ้ามีความดีก็ส่งขึ้นไปสวรรค์ ถ้าทำความชั่วก็ส่งลงนรก
5 . เทพารักเจ้าพ่อเจตคุปก์ เทพารักษ์องค์นี้แกะด้วยไม้แต่ปิดทองทั้งองค์ สูง ๑.๓๓ เมตร

ค่าธรรมเนียม-ค่าเข้าชม:
ไม่เสียค่าธรรมเนียม

ขึ้นทะเบียนโบราณสถาน: 2518

ที่จอดรถ:
บริเวณด้านหน้าศาล

 

ถ.มหาไชย
แขวงพระบรมมหาราชวัง
เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200


การเดินทาง
รถประจำทาง:1 3 6 9 15 19 25 30 32 33 39 43 44 47 53 59 60 64 65 70 80 82 91 123 201 203
รถปรับอากาศ: 1 3 25 38 39 44 82 507 508 512

ท่าเรือ:
เรือด่วนเจ้าพนะยา: ท่าช้าง

สถานที่ใกล้เคียง:
ตึกถาวรวัตถุ พระบรมมหาราชวัง
พิพิธภัณฑ์ปืนใหญ่โบราณ
พิพิธภัณฑ์ฯ พระนคร
พิพิธภัณฑ์ฯ ศิลป์ พีระศรี
ม.ธรรมศาสตร์ ม.ศิลปากร
วิทยาลัยในวัง วัดพระแก้ว
วัดพระเชตุพนฯ วัดมหาธาตุฯ
สวนสราญรมย์ หอกลอง หอนาฬิกา

เวลาทำการ: ทุกวัน